วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ฮะดีษ
สารบัญ
1. แปลว่า ใหม่ ซึ่งตรงข้ามกับคำว่า เกาะดีม قديم ซึ่งแปลว่า เก่า
2. แปลว่า คำพูด เช่น หะดีษของอับดุลลอฮฺ หมายถึง คำพูดของอับดุลลอฮฺ เป็นต้น



ความหมายทางวิชาการอิสลาม
ฮะดีษ คือ คำพูด การกระทำ การยอมรับ และคุณลักษณะ ตลอดจนชีวประวัติของท่านนบีมุฮัมมัด อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์ให้นิยามของหะดีษว่า "ทุก ๆ สิ่งที่พาดพิงถึงท่านนบี(ศ)"
ประเภทของฮะดีษ
การจำแนกประเภทของฮะดีษนั้นนักวิชาการได้จำแนกฮะดีษเป็นดังนี้
1. จำแนกตามลักษณะของกระแสรายงาน แบ่งออกเป็นได้ สองประเภทคือ ฮะดีษมุตะวาติรและ ฮะดีษอาฮาด
2. จำแนกตามลักษณะของการนำมาใช้มาเป็นหลักฐานอ้างอิง แบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
2.1 หะดีษที่นำมาเป็นหลักฐานได้ คือ หะดีษศอฮีฮฺ และ ฮะดีษฮะซัน
2.2 หะดีษที่ใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ คือ หะดีษฎออีฟ(หะดีษอ่อน)และหะดีษเมาฎั๊วะ(หะดีษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้น)
3. จำแนกตามลักษณะของผู้สืบ (ที่มา [1], [2]
พระวจนานุกรมรวบรวมฮะดีษมีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม คือ
1. ศอฮีฮฺอัลบุคอรีย์ รวบรวมโดย อัลบุคอรีย์, อ่านรายละเอียดได้ที่ [3]
2. ศอฮีฮฺมุสลิม รวบรวมโดยมุสลิม, อ่านรายละเอียดได้ที่ [4]
3. ศอฮีฮฺอัตตัรมีซีย์ รวบรวมโดย อัตตัรมีซีย์ [5]
4. อัสสุนัน รวบรวมโดย อะบูดาวูด, [6]
5. อัสสุนัน รวบรวมโดย อิบนุมาญะหฺ [7]
6. อัสสุนัน รวบรวมโดย อันนะซาอีย์ [8]
นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรม
7. อัลมุวัฏเฏาะอ์ รวบรวมโดย มาลิก บินอะนัส (เจ้าสำนักมาลิกีย์)
8. อัลมัสนัด รวบรวมโดย อะฮฺหมัด บินฮันบัล (เจ้าสำนักฮันบะลีย์)
9. อิบนุคุซัยมะหฺ
10. อิบนุฮิบบาน
11. อับดุรรรอซซาก
พระวจนานุกรมอัลบุคอรีย์และมุสลิมได้รับการยอมรับมากที่สุดในสังคมมุสลิมซุนนีย์


ไม่มีความคิดเห็น: