วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550



เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณฯ จัดสร้างขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ โดย กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ รัชกาลที่ ๔ มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พา�! � และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหมด


เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
ลักษณะเรือ
ลักษณะโขนเรือ โขนเรือ จำหลักรูปพระนารายณ์ ๔ กร ทรงเทพศาสตรา ตรี คฑา จักร สังข์ ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์ และ มงกุฏยอดชัย ประทับยืนบนหลังพญาครุฑ ซึ่งเป็นโขนเรือ แกะสลักจากไม้ ลงรักปิดทองประดับกระจกตลอดทั้งลำ ลวดลายเขียนลายดอกพุดตานพื้น
ส่วนท้ายเรือ มีลักษณะคล้าย ท้ายเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช แต่ส่วนเหนือมาลัยท้าย เป็นสร้อยหางครุฑ ปลายหางสุดของท้ายเรือเป็นกนกหางครุฑ ท้องลายของท่อนหางเป็นขนครุฑ
สีพื้นเรือหรือสีท้องเรือ เป็นสีแดงชาด ใช้ตัวบัลลังก์กัญญาเรือ เช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นลวดลายแกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก
แผงพนักพิง แกะสลักลวดลาย เป็นรูปครุฑยุดนาค ลงรักปิดทอง ประดับกระจก ภายในเหมือนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลูกแก้วรับขื่อ เป็นไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก เสาสองต้นทาสีดำ
ส่วนพายกับฉาก ลงรักปิดทอง การวางฉัตร ให้เว้น ๒ กระทง ต่อ ๑ ฉัตร ผ้าดาดหลังคากัญญาเรือ เป็นทองแผ่ลวด ลายโคมแย่ง ลงรักปิดทอง ประดับกระจก พื้นแดงลายจั่ว และลายผ้าม่านโดยรอบ ประดับด้วยทองแผ่ลวด
ขนาดของเรือ มีความยาว ๔๔.๓๐ เมตร ความยาวแนวน้ำหนักบรรทุกเต็มที่ ๓๔.๖๐ เมตร ความกว้าง ๓.๒๐ เมตร ความลึก ๑.๑๐ เมตร กินน้ำลึก ๐.๔๐ เมตร ระวางน้ำบรรทุกขับเต็มที่ ๒๐ ตัน มีฝีพาย ๕๐ นาย สิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ ๑๑.๗ ล้านบาท


ไม่มีความคิดเห็น: