วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550


กระเพาะอาหาร (Stomach) เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร

หน้าที่การทำงาน
กระเพาะอาหารวางตัวอยู่ทางด้านซ้ายของช่องท้อง โดยอยู่ระหว่างหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น และมีบางส่วนที่สัมผัสกับกระบังลม และมีตับอ่อนวางอยู่ใต้กระเพาะอาหารด้วย ที่ส่วนโค้งใหญ่ (greater curvature) ของกระเพาะอาหารยังมีเยื่อโอเมนตัมใหญ่ (greater omentum) ห้อยลงมาคลุมอวัยวะอื่นๆในช่องท้องอีกด้วย ที่บริเวณติดต่อกับหลอดอาหารและลำไส้เล็กตอนต้น จะมีกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการเข้าออกของสารภายในกระเพาะอาหาร ซึ่งได้แก่กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร (esophageal หรือ cardiac sphincter)ซึ่งแบ่งระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดไพลอริค (pyloric sphincter) ซึ่งแบ่งระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กตอนต้น

กระเพาะอาหาร กายวิภาคศาสตร์
กระเพาะอาหารจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วน ซึ่งจะมีโครงสร้างในระดับเนื้อเยื่อที่แตกต่างกัน ได้แก่
กระเพาะอาหาร
ส่วนบนสุด ปากกระเพาะ หรือส่วนคาดิแอค (cardiac) เป็นส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร
ส่วนบน กระพุ้งกระเพาะอาหาร หรือส่วนฟันดัส (fundus)
ส่วนกลาง (body)
ส่วนท้าย หรือส่วนไพลอรัส (pylorus) มี กระเพาะส่วนปลาย (antrum, pylorus) และ หูรูดกระเพาะส่วนปลาย (pyloric sphincter) จะติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


แอลคีน (alkene) คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล 1 พันธะ นอกนั้นเป็นพันธะเดี่ยว จัดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดไม่อิ่มตัว ในทำนองเดียวกับแอลเคน แต่แอลคีนมีจำนวนไฮโดรเจนน้อยกว่าแอลเคนอยู่ 2 ตัว สูตรโมเลกุลทั่วไปของแอลคีนจึงเป็น CnH2n เมื่อ n คือจำนวนคาร์บอน
การเรียกชื่อ ในทำนองเดียวกับแอลเคนแต่เปลี่ยนเสียงท้ายเป็น "……น(-ene)" เช่น
แอลคีน แอลคีน C2H4 อ่านว่า "อีทีน" (ethene) หรือ "เอทิลีน" (ethylene)
C3H6 อ่านว่า "โพรพีน" (propene)

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550


ยอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง หน้าผากแห่งท้องฟ้า) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาจีน: 珠穆朗玛 [จูมู่หลั่งหม่า] หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)
ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์< นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)
คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปาและนักปีนเขาบางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว

ยอดเขาเอเวอเรสต์ ที่สุดของความสูง
เมื่อปี ค.ศ. 1952 รัฐนาถ สิกดาร์ นักคณิตศาสตร์และนักสำรวจจากเบงกอล เป็นคนแรกที่ประกาศว่าเอเวอเรสต์คือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จากการคำนวณทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยข้อมูลที่วัดด้วยกล้องส่องแนวในที่ที่ไกลจากยอดเขาไป 150 ไมล์ ณ ประเทศอินเดีย
ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ทางการจีนได้ส่งคณะเดินทางสำรวจไปที่ยอดเขา เพื่อคำนวณความสูงของยอดเขา ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สำนักงานสำรวจและทำแผนที่แห่งชาติจีน ได้ทำการวัดครั้งล่าสุด พบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูง 8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต 2 นิ้ว) และอาจมีการคลาดเคลื่อนจากการวัดเล็กน้อย
ในปี ค.ศ. 1956 ยอดเขาเอเวอเรสต์วัดความสูงได้ 29,002 ฟุต ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 การวัดทำได้แม่นยำขึ้น และให้ความสูง 29,028 ฟุต หรือ 8,848 เมตร ซึ่งตัวเลขนี้ถือเป็นความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ใช้อ้างถึงโดยทั่วไป และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเนปาล อย่างไรก็ดี จากการติดตั้งเครื่องมือที่ยอดเขาของทีมสำรวจสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1999 และทำการวัดความสูงด้วยจีพีเอสแล้ว พบว่าความสูงที่แท้จริงของยอดเขาเอเวอเรสต์ในขณะนั้นคือ 29,035 ฟุต หรือ 8,850 เมตร ทั้งนี้ยอดเขาเอเวอเรสต์ยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละไม่กี่เซนติเมตร เนื่องจากการที่แผ่นเปลือกโลกยังคงชนกันอยู่
ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเมื่อวัดจากระดับน้ำทะเล แต่ก็ยังกล่าวได้ไม่เต็มปากเต็มคำนักว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เนื่องจากมีอีกสองยอดเขาที่ดูจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ เมื่อใช้เกณฑ์การวัดที่ต่างกัน ยอดเขาแรกคือ ยอดเขาเมานาลัว ในหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งถ้าวัดความสูงจากฐานที่จมอยู่ในทะเลแล้วจะพบว่ายอดเขานี้สูงกว่า 9 กิโลเมตร เลยทีเดียว แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาเมานาลัวจะสูงเพียง 13,680 ฟุต หรือ 4,170 เมตรเท่านั้น   อีกยอดเขาหนึ่งคือ ยอดเขาคิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ถ้าวัดจากจุดศูนย์กลางโลกแล้วจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ 2,150 เมตร ทั้งนี้เพราะโลกมีลักษณะป่องตรงกลาง แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาคิมโบราโซมีความสูง 6,272 เมตร
เป็นที่น่าสังเกตว่าจุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร มีความลึกมากกว่าความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยร่องลึกแชลเลนเจอร์ในร่องลึกบาดาลมาเรียนานั้นลึกมากซะจนถ้าวางยอดเขาเอเวอเรสต์ลงไป ยอดเขาเอเวอเรสต์จะยังคงจมอยู่ในน้ำเป็นระยะทางเกือบไมล์

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิท
ค้นหา คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิท ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิท
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิท ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

แฟนตาเซีย
แฟนเทเชีย สามารถหมายถึง


แฟนเทเชีย (ดนตรี)
แฟนเทเชีย (ภาพยนตร์) ภาพยนตร์การ์ตูนที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2483 ของวอลท์ ดิสนีย์
แฟนเทเชีย 2000 ภาพยนตร์ภาคต่อ ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2543

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550

แพลเลเดียมแพลเลเดียม
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ (๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ - ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕) อดีตรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและอดีตประธานองคมนตรี ประสูติ ณ วังท้ายวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ ตรงกับวันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เมื่อประสูติทรงเป็นหม่อมเจ้าลำดับที่ ๕ ของจำนวนพระโอรสและพระธิดาทั้งสิ้น ๓๗ พระองค์ ใน พลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช และเป็นลำดับที่ ๓ ในจำนวน ๓ พระองค์ของหม่อมมารดา คือ หม่อมขาบ
พุทธศักราช ๒๔๗๓ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โดยมีคำนำพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ ครุฑนาม ทรงศักดินา ๓๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พุทธศักราช ๒๔๙๕ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้เฉลิมพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ครุฑนาม ทรงศักดินา ๑๑๐๐๐ ตามอย่างธรรมเนียม พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าต่างกรมทั้งปวง และให้ทรงตั้งเจ้ากรมเป็นหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ปลัดกรมเป็นพันบริรักษ์ภูเบศร ถือศักดินา ๓๐๐ สมุห์บัญชีเป็นพันวิเศษพลขันธ์ ถือศักดินา ๒๐๐
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ประชวรด้วยพระโรคไข้ไทฟอยด์ โดยมีพระอาการหนักจนถึงสิ้นพระชนม์ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ สิริรวมพระชันษา ๗๒ ปี ๑ เดือน ๒๖ วัน ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงพระศพออกเมรุ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วันที่ ๑๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๙๖
ในระหว่างพระชนม์ชีพ พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลงกฎ กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์ ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ราชการสนองคุณแผ่นดินมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จออกไปจัดระเบียบกองทหารสำหรับประจำรักษาหัวเมืองในมณฑลภาคพายัพ ตามพระบรมราโชบายเพื่อรักษาความปลอดภัยแห่งพระราชอาณาเขต อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการก่อความไม่สงบของพวกเงี้ยวในภาคเหนือ จนได้ดำรงพระยศและพระตำแหน่งเป็นนายพลตรีผู้บัญชาการกองพลที่ ๗ มณฑลพิษณุโลก ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเป็นแม่ทัพกองที่ ๒ และนายพลโทแม่ทัพกองทัพน้อยทหารบกที่ ๒ ครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๗ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายกลับเข้ามาในพระนครเพื่อให้ทรงเป็น จเรทหารบก เสนาธิการทหารบก และรองเสนาบดีกระทรวงกลาโหม จนกระทั่งพ้นจากหน้าที่ราชการเมื่อคณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ดำรงพระฐานะเป็น "นายทหารนอกราชการ" และ "นายทหารพ้นราชการ" อยู่นานถึงประมาณ ๑๕ ปี จนกระทั่ง ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ ให้กลับมารับพระราชทานสนองพระราชภาระงานฝ่ายพระมหากษัตริย์ให้ทรงดำรงตำแหน่งต่าง ๆ คือ อภิรัฐมนตรี คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ องคมนตรี และประธานองคมนตรี

ตราประจำพระองค์

พ.ศ. ๒๔๓๕ เข้ารับราชการเป็นนักเรียนนายร้อยชั้นเล็ก และสอบไล่เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้น ๑ ได้เป็นที่ ๑
พ.ศ. ๒๔๓๗ สอบไล่เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้น ๒ ได้เป็นที่ ๔
พ.ศ. ๒๔๓๘ สอบไล่เลื่อนชั้นเป็นนักเรียนนายร้อยชั้น ๓ ได้เป็นที่ ๑
พ.ศ. ๒๔๔๑ สอบไล่เพื่อออกเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้เป็นที่ ๑

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550

สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 1
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่
ค้นหา สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา
.np
บทความนี้ใช้ชื่อที่ใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ หรือไม่มีชื่อภาษาไทยที่เหมาะสม
.np เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศเนปาล

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

การป้องกัน
การป้องกัน คือการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อตัวเองในเหตุการณ์ร้ายเช่น กำลังโดนทำร้ายด้วยการ ทุบตี ของมีคม และอาวุธต่างๆ ก็ต้องหาวิธีป้องกันเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

ชีวิตในเยาว์วัยและการศึกษา
พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ได้กลับเข้ารับราชการในกรมป่าไม้ อีกครั้งหนึ่งและได้ย้ายไปเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคภูเก็ต และเจ้าพนักงานป่าไม้ภาคนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 2460 [[1]]

การทำงานและผลงาน
ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2455พ.ศ. 2463 พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ซึ่งเป็นนักพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้ด้วย ก็ได้รวบรวมพันธุ์ไม้ของไทยจากภาคต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้เพื่อทำเป็น "หอพรรณไม้" โดยเก็บตัวอย่างได้ประมาณ 1,200 หมายเลข ปัจจุบันยังเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF) และตัวอย่างซ้ำถูกส่งไปเก็บที่ หอพรรณไม้คิว (K) ในประเทศอังกฤษ

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ การรวบรวมพรรณไม้ไทยและการจัดตั้งหอพรรณไม้
นอกจากได้ชื่อว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนบุกเบิกด้านพฤกศาสตร์ที่เป็นคนไทยในการรวบรวมพรรณไม้และการจัดตั้งหอพรรณไม้ (Herbarium) ของกรมป่าไม้ขึ้นดังกล่าวมาแล้ว พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ก็ยังได้เป็นผู้เรียบเรียงหนังสือ "พรรณไม้ไทย" (List of Common Trees and Shrubs in Siam, 1923 ) ซึ่งจัดเป็นตำราพันธุ์ไม้เล่มแรกของไทยในปี พ.ศ. 2466 [[2]]

พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ การเรียบเรียงตำราพรรณไม้
ในด้านการป่าไม้ พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ ได้ทำการทดลองปลูกสวนสักเมื่อปี พ.ศ. 2449 ตามแบบที่พม่าใช้ได้ผลมาแล้วโดยวิธีหยอดเมล็ดลงหลุมและอาศัยความร่วมมือจากชาวไร่ เมื่อการทดลองครั้งแรกได้ผลดี จึงได้มีการขยายการปลูกสร้างสวนป่าไม้สักเพิ่มขึ้นในระยะต่อมา

เกียรติประวัติ
มหาอำมาตย์ตรีพระยาวันพฤกษ์พิจารณ์สมรสกับคุณหญิงขลิบ วันพฤกษ์พิจารณ์ (ขลิบ บุนนาค)มีบุตรธิดา 3 คน คือ
นอกจากนี้พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ยังมีบุตรธิดากับภริยาอื่นอีก 12 คน รวมเป็น 15 คน
พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตและซื่อตรงต่อหน้าที่เป็นอย่างยิ่ง ไม่เป็นผู้มักใหญ๋ไฝ่สูง แม้จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยา มหาอำมาตย์โต๊ะทอง กาทองเป็นคนแรกในกรมป่าไม้ ก็มิได้มีฐานะร่ำรวยและไม่ได้รับตำแหน่งสูงสุดตามควร แต่ท่านก็มีความพอใจและสั่งสอนลูกๆ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริตและให้ทำความดีไว้เสมอ
พระยาวันพฤกษ์พิจารณ์ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2510 สิริอายุรวมได้ 87 ปี 10 เดือน

พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา
นางสมจิตต์ สกลคณารักษ์ (ถึงแก่รรม)
ร้อยตรีสนั่น เศวตศิลา (ถึงแก่กรรม)

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550


ดาร์มสแทดเทียม (อังกฤษ: Darmstadtium) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 110 และสัญลักษณ์คือ Ds ดาร์มสแทดเทียมเป็นธาตุที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ไอโซโทปที่เสถียรของมันคือ Ds-280 และ Ds-281 มีครึ่งชีวิตประมาณ 7.6 วินาที และ 1.1 นาที ตามลำดับ ดาร์มสแทดเทียมมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอกา-แพลตินัม (Eka-Platinum) หรืออูนอูนนิเลียม (ununnilium)
DarmstadtiumDarmstadtium

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 1506
พุทธศักราช 1506 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 963 - มีนาคม ค.ศ. 964
มหาศักราช 885 วันเกิด

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 536 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 8

พ.ศ. 536 วันเกิด

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1509 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 966 - มีนาคม ค.ศ. 967
มหาศักราช 888 พ.ศ. 1509 วันเกิด

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550



กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 18 กุมภาพันธ์ 2547

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและการค้าของมหาวิทยาลัยหอการค้า รายงานว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทุกกลุ่มของเดือนมกราคม ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ซึ่งเกิดจากการระบาดของไข้หวัดนก
ผล พระประแดงผล พระประแดง
ผล พระประแดง หรือ นายผล พูนเสริม เป็นชาวจังหวัดลพบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2456 ไม่ปรากฏชื่อบิดามารดา เป็นนักมวยสากลรุ่นแรกๆ ของประเทศไทย มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้นจนได้ฉายา"อาจารย์"

ยอดมวยสองแบบ
เมื่อสงครามสงบ ผลกลับมาชกมวยอีก ช่วงพ.ศ. 2487 - 2493 เป็นช่วงที่รุ่งโรจน์ที่สุด เมื่อเขาชกชนะคะแนน เดวิด กุยกองยัง (สหรัฐ)ได้เป็นรองแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวทของ"เดอะริง" และ NBA ซึ่งเป็นรองแชมป์โลกคนแรกของไทย แต่ถูกปลดจากอันดับเมื่อชกแพ้คะแนน ลาร์รี่ บาร์ตาน ช่วง พ.ศ. 2494 - 2498 ผลเริ่มโรยรา ชกแพ้หลายครั้งติดต่อกัน ทั้ง อุสมาน ศรแดง พรหมมินทร์ นวรัตน์ ดำรงค์เดช สมานฉันท์ เขาจึงตัดสินใจแขวนนวมโดยชกทั้งมวยไทยและมวยสากลร่วม 500 ครั้ง โดยไม่เคยแพ้น็อค

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550

ทศคีรีวัน ทศคีรีธร
ทศคีรีวันและทศคีรีธร เป็นยักษ์ฝาแฝดที่เกิดจากทศกัณฐ์กับนางช้างพัง ทศคีรีวันเป็นพี่ ทศคีรีธรเป็นน้อง ทศกัณฐ์ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมแก่ ท้าวอัศกรรมมาลา เจ้าเมืองดุรัม วันหนึ่งคิดถึงบิดาตนจึงไปหาและทราบเรื่องราวที่บิดาตนทำศึกกับพระรามจึงอาสาออกรบ ผลสุดท้ายต้องตายด้วยศรพระราม

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

ค.ศ. 1954
พุทธศักราช 2497 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1954

ค.ศ. 1954 วันเกิด

12 มกราคม - ฮาเวิร์ด สเติร์น ผู้จัดรายการวิทยุชาวอเมริกัน
29 มกราคม - โอปราห์ วินฟรีย์ นักจัดรายการชาวอเมริกัน
1 กุมภาพันธ์ - วิทยา เลาหกุล นักฟุตบอลทีมชาติไทย
1 มีนาคม - รอน ฮาเวิร์ด ผู้กำกับชาวอเมริกัน
7 เมษายน - เฉินหลง นักแสดงชาวฮ่องกง
29 เมษายน - เจอร์รีย์ ไซน์ฟิลด์ ดาราตลกชาวอเมริกัน
21 กันยายน - ชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น
23 ตุลาคม - หลี่อัน ผู้กำกับชาวไต้หวัน
28 ธันวาคม - เดนเซล วอชิงตัน นักแสดงชาวอเมริกัน

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

ดอยสุเทพ
ดอยสุเทพ สามารถหมายถึง


วัดพระธาตุดอยสุเทพ
ยอดดอยสุเทพ
อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550


ภาษาอาหม เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่ม ไท-กะได, คำ-ไท, บี-ไท, ไท-เสก. อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาอาหมนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจก็คือ อาหมมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัม ซึ่งอยู่ในภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็พบว่าชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ์

โคลงกลอนอาหม
ภาษาอาหม กับภาษาในศิลาจารึกสุโขทัยของไทย ต่างก็เป็นภาษาไทยุคเก่า ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากกว่าภาษาถิ่นไทยในปัจจุบัน และในภาษาอาหมไม่มีการใช้คำราชาศัพท์ คำที่ใช้พูดกับคนธรรมดาก็ใช้พูดกับกษัตริย์ หรือเจ้าได้

ลักษณะของภาษาอาหม
แม้ว่าภาษาอาหมจะมีการฟื้นฟูอย่างน้อย 3 ช่วงเวลา ช่วงที่ 1 ในสมัยพระเจ้าจักรธวัช สิงห์ในช่วงปี ค.ศ. 1663 -1663 ช่วงที่ 2 ในยุคหลังจากอังกฤษเข้าปกครองในรัฐอัสสัมราวปี ค.ศ. 1826 และช่วงที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูภาษาไท และตั้ง สมาคมวรรณกรรมไทตะวันออก (Eastern Tai Literary Association) ที่เมืองกูวาฮาติ โดยสมคมมุ่งมั่นปฏิบัติให้พัฒนาการเรียน เขียนอ่านภาษาอาหม พร้อมกันนี้ให้สนับสนุนให้ค้นคว้าศึกษาเอกสารโบราณของชาวอาหมอย่างจริงจัง

ภาษาอาหม ภาษาอาหมในปัจจุบัน

โปเกา = พ่อตา
ไป,ไปกะ = คำบอกลาไป
ไปคัน = ไปอย่างรวดเร็ว
ไป่ = ไผ่
เปล่า = ว่าง
เป่า = เป่าลม
มุง = เมือง
เจ้ = เมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ (ตรงกับคำว่า แจ้ ในคำเมือง เช่น แจ้ห่ม)
มู = ฤดู, อากาศ,เวลา
มูหนาว = ฤดูหนาว
มูเหนียว = เวลานี้, เดี๋ยวนี้
มะพุก = พรุ่งนี้
ไหม้ = เผา
ถ้า = คอย
ปินไหง่ = ฝุ่นละออง (ตรงกับคำว่า ไหง่ ในภาษาอีสาน ซึ่งปัจจุบันมีใช้แถบชนบท)
จี = จดจำ (ตรงกับคำว่า จือจำ ในภาษาอีสาน)
ถัก = เย็น, ถัก
เล็ง = วิ่ง
ญม = ยิ้ม
กำ = ข้อห้าม
อาย = เข้าอาย
อ้าย = พี่ชาย
อ้า = เปิดออก, เปิดเผยออก
อา = น้องของพ่อ
ที่ไฟ = ไฟ
บินหวัด = เป็นหวัด
บอร์ = ใหญ่, กว้าง
คนม้า = คนเลว คนชั่ว
ริก = เรียก
ด้ำ = ผีบ้านผีเรือน (เช่น ผีซ้ำ ด้ำพลอย)
มอยด้ำ = เนินดินฝังพระอัฐิกษัตริย์อาหม
หมอรู้หมอแสง = ปุโรหิต
หมอลิกหมอลาย = อาลักษณ์ คำนับจำนวน เวลา
ภาษาอาหม
เปอ่องเลเล = มีความหมายว่าจงเจริญ (ซึ่งมาจากภาษาพม่าซ้อนคำไทอาหมเดิม เนื่องจาก เป แปลว่า ชนะ รวมกับคำว่า อ่อง ซึ่งเป็นภาษาพม่าที่แปลว่า ชนะ เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า เล เป็นคำลงท้ายแบบเดียวกับหางเสียง ครับ, ค่ะ)
คุปต่าง = กราบไหว้(ในบทบูชาบรรพชน)
คุปต่าง ชมโหลง = ขอบคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2550


สะพานทีปังกรรัศมีโชติ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับวงแหวนอุตสาหกรรม ลักษณะเป็นสะพานขึง ขนาด 7 ช่องการจราจร ทางด้านใต้เชื่อมระหว่าง ตำบลทรงคนอง กับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2549 แต่ก่อนหน้านั้นได้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549
ช่วงด้านใต้ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ เชื่อมระหว่างตำบลทรงคะนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพาน ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 152 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถลอดได้เพื่อเข้าสู่ท่าเรือคลองเตย
ช่วงด้านเหนือ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ เชื่อมระหว่างตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ กับแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีต และเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 128 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง คสามสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าสามารถแล่นลอดได้
สะพานทีปังกรรัศมีโชติมองผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา
สะพานทีปังกรรัศมีโชติมองจากด้านล่างของสะพาน
สะพานทีปังกรรัศมีโชติมองจากถนนขนานใต้สะพาน
สะพานทีปังกรรัศมีโชติ

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พิ
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พิ
ค้นหา สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พิ ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พิ
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ พิ ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

IPA (แก้ความกำกวม)
IPA สามารถหมายถึง


สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet)
อินเดีย เพลเอล (India Pale Ale) เบียร์ชนิดหนึ่งของอินเดีย
สมาคมตำรวจนานาชาติ (International Police Association)

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550


พระบาทสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ หรือ พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒๐ ของกรุงศรีอยุธยา และพระองค์ที่ ๔ ของราชวงศ์สุโขทัย เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เจ้าฟ้าสุทัศน์พระโอรสองค์ใหญ่ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชได้เสวยยาพิษสิ้นพระชนม์ และสมเด็จพระเอกาทศรถก็ตรอมพระทัยสวรรคตตามไปอีกพระองค์หนึ่ง เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์จึงได้รับทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๓ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔ โดยส่วนพระองค์แล้วพระองค์มีพระเนตรเสียข้างหนึ่ง และทรงมีพระบุคลิกค่อนข้างอ่อนแอและที่สำคัญที่สุดคือพระองค์ไม่สนพระทัยเกี่ยวกับราชการบ้านเมืองเลย
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในแผ่นดิน โดยเรือของญี่ปุ่นที่เข้ามาค้าขาย ได้ปล้นราษฎร ได้บุกเข้าไปในพระนคร และเข้าไปในพระราชวังหลวง จับสมเด็จพระศรีเสาวภาคย์และบังคับให้ทรงปฏิญาณสัญญาว่ามิให้ผู้ใดทำร้ายพวกญี่ปุ่น แล้วได้ลงเรือแล่นหนีออกทะเล โดยนำตัวสมเด็จพระสังฆราชไปเป็นตัวประกันจนถึงปากน้ำ
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ เนื่องจากทรงไม่สนพระทัยราชการบ้านเมืองพระศรีเสาวภาคย์ทรงครองราชย์อยู่ได้ปีสองเดือนก็โดนขุนนางปลดจากราชสมบัติและนำไปสำเร็จโทษจึงเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๕๔ พระบรมศพถูกนำไปฝังที่วัดโคกพระยา

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

อำเภอกันทรารมย์
อำเภอกันทรารมย์ [กัน-ทะ-รา-รม] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 27 กิโลเมตร ประกอบด้วย 16 ตำบล 170 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

ที่ตั้ง

ด้านใต้ อ.น้ำเกลี้ยง อ.โนนคูณ
ด้านตะวันตก อ.เมืองศรีสะเกษ อ.ยางชุมน้อย
ด้านเหนือ อ.เขื่องใน อ.เมืองอุบลราชธานี (จังหวัดอุบลราชธานี)
ด้านตะวันออก อ.วารินชำราบ อ.สำโรง (จังหวัดอุบลราชธานี)

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550


ฮาร์ดดิสก์ หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (hard disk) คืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง ฮาร์ดดิสก์นั้นไม่ควรนำไปสับสนว่าเป็นสิ่งเดียวกับไดรฟว์ซึ่งถือเป็นยูนิตทั้งยูนิตในคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยจานบันทึกหลายอันด้วยกัน, หัวอ่านและบันทึกข้อมูล, วงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไดรฟว์ และตัวมอเตอร์ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ (หรือจานบันทึกนั่นเอง) นั้นเป็นแค่ตัวเก็บข้อมูลเท่านั้น ตั้งแต่เข้าสู่ช่วงคริสตศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ฮาร์ดดิสก์สามารถพบได้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ไม่เฉพาะภายในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อีกด้วย เช่น เครื่องเล่นเอ็มพีสาม, เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล, กล้องถ่ายรูป, คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (หรือ PDA) หรือแม้กระทั่งในโทรศัพท์มือถือบางรุ่นตั้งแต่ พ.ศ. 2548 (2005) เป็นต้นมา (ซัมซุงและโนเกียเป็นสองบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายแรกที่จำหน่ายโทรศัพท์มือถือที่มีฮาร์ดดิสก์) ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 ถึง 250 จิกะไบต์ ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมาก หรือระบบ RAID รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS (network attached storage หรืออุปกรณ์บรรจุข้อมูลเชื่อมต่อเครือข่าย) และระบบ SAN (storage area network หรือเครือข่ายบรรจุข้อมูลเป็นพื้นที่) เป็นต้น
ฮาร์ดดิสก์นั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 (1956) โดยนักประดิษฐ์ยุคบุกเบิกแห่งบริษัทไอบีเอ็ม เรย์โนล์ด จอห์นสัน ซึ่งในขณะนั้น ฮาร์ดดิสก์มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 นิ้ว มีความจุเพียงระดับเมกะไบต์เท่านั้น (เทียบกับระดับจิกะไบต์ในปัจจุบัน ซึ่ง 1,000MB = 1GB). ตอนแรกใช้ชื่อว่า ฟิกส์ดิสก์ (fixed disk หรือจานบันทึกที่ติดอยู่กับที่) หรือ วินเชสเตอร์ (Winchesters) ซึ่งเป็นชื่อที่ IBM เรียกผลิตภัณฑ์ของพวกเขา, ต่อมาภายหลังจึงเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ (จานบันทึกแบบแข็ง) เพื่อจำแนกประเภทออกจาก ฟลอปปี้ดิสก์ (จานบันทึกแบบอ่อน)

ฮาร์ดดิสก์ การเก็บข้อมูล