วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2550
ภาษาอาหม เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาย่อยไทพายัพ ซึ่งเป็นภาษาในกลุ่ม ไท-กะได, คำ-ไท, บี-ไท, ไท-เสก. อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งภาษาอาหมนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจก็คือ อาหมมีอักษร และถ้อยคำของตนใช้สื่อสารทั้งพูดและเขียนมาอย่างต่อเนื่อง แต่ชาวอาหมในปัจจุบันนั้นหันไปใช้ภาษาอัสสัม ซึ่งอยู่ในภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียนแล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้อยคำที่บันทึกจารึกไว้ในคัมภีร์ในบทสวดในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ก็พบว่าชาวไทอาหมยังใช้ภาษาไทได้อย่างสมบูรณ์
โคลงกลอนอาหม
ภาษาอาหม กับภาษาในศิลาจารึกสุโขทัยของไทย ต่างก็เป็นภาษาไทยุคเก่า ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากกว่าภาษาถิ่นไทยในปัจจุบัน และในภาษาอาหมไม่มีการใช้คำราชาศัพท์ คำที่ใช้พูดกับคนธรรมดาก็ใช้พูดกับกษัตริย์ หรือเจ้าได้
ลักษณะของภาษาอาหม
แม้ว่าภาษาอาหมจะมีการฟื้นฟูอย่างน้อย 3 ช่วงเวลา ช่วงที่ 1 ในสมัยพระเจ้าจักรธวัช สิงห์ในช่วงปี ค.ศ. 1663 -1663 ช่วงที่ 2 ในยุคหลังจากอังกฤษเข้าปกครองในรัฐอัสสัมราวปี ค.ศ. 1826 และช่วงที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูภาษาไท และตั้ง สมาคมวรรณกรรมไทตะวันออก (Eastern Tai Literary Association) ที่เมืองกูวาฮาติ โดยสมคมมุ่งมั่นปฏิบัติให้พัฒนาการเรียน เขียนอ่านภาษาอาหม พร้อมกันนี้ให้สนับสนุนให้ค้นคว้าศึกษาเอกสารโบราณของชาวอาหมอย่างจริงจัง
ภาษาอาหมในปัจจุบัน
โปเกา = พ่อตา
ไป,ไปกะ = คำบอกลาไป
ไปคัน = ไปอย่างรวดเร็ว
ไป่ = ไผ่
เปล่า = ว่าง
เป่า = เป่าลม
มุง = เมือง
เจ้ = เมืองที่มีคูน้ำล้อมรอบ (ตรงกับคำว่า แจ้ ในคำเมือง เช่น แจ้ห่ม)
มู = ฤดู, อากาศ,เวลา
มูหนาว = ฤดูหนาว
มูเหนียว = เวลานี้, เดี๋ยวนี้
มะพุก = พรุ่งนี้
ไหม้ = เผา
ถ้า = คอย
ปินไหง่ = ฝุ่นละออง (ตรงกับคำว่า ไหง่ ในภาษาอีสาน ซึ่งปัจจุบันมีใช้แถบชนบท)
จี = จดจำ (ตรงกับคำว่า จือจำ ในภาษาอีสาน)
ถัก = เย็น, ถัก
เล็ง = วิ่ง
ญม = ยิ้ม
กำ = ข้อห้าม
อาย = เข้าอาย
อ้าย = พี่ชาย
อ้า = เปิดออก, เปิดเผยออก
อา = น้องของพ่อ
ที่ไฟ = ไฟ
บินหวัด = เป็นหวัด
บอร์ = ใหญ่, กว้าง
คนม้า = คนเลว คนชั่ว
ริก = เรียก
ด้ำ = ผีบ้านผีเรือน (เช่น ผีซ้ำ ด้ำพลอย)
มอยด้ำ = เนินดินฝังพระอัฐิกษัตริย์อาหม
หมอรู้หมอแสง = ปุโรหิต
หมอลิกหมอลาย = อาลักษณ์ คำนับจำนวน เวลา
เปอ่องเลเล = มีความหมายว่าจงเจริญ (ซึ่งมาจากภาษาพม่าซ้อนคำไทอาหมเดิม เนื่องจาก เป แปลว่า ชนะ รวมกับคำว่า อ่อง ซึ่งเป็นภาษาพม่าที่แปลว่า ชนะ เช่นเดียวกัน ส่วนคำว่า เล เป็นคำลงท้ายแบบเดียวกับหางเสียง ครับ, ค่ะ)
คุปต่าง = กราบไหว้(ในบทบูชาบรรพชน)
คุปต่าง ชมโหลง = ขอบคุณ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น