วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ
ประวัติศาสตร์
เบลเยียมมีระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยแบบรัฐสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การปกครองของเบลเยียมนั้นมีเน้นไปทางอำนาจปกครองตนเองของสองชุมชนหลัก ซึ่งมีมีปัญหาความแตกแยกจากความแตกต่างทางภาษา
การเมืองการปกครอง
ชาววัลลูนและชาวเฟลมิชในเบลเยียมมีความแตกต่างกันทั้งทางภาษา ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจและการเมือง ในปี พ.ศ. 2511 ความตึงเครียดระหว่างประชากรในพื้นที่ที่ใช้ภาษาดัตช์และที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนบางครั้งถึงขั้นจลาจล สถานการณ์นี้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ-ราชอาณาจักร โดยแบ่งออกเป็นสามภูมิภาค คือ แฟลนเดอส์ (Flanders) วัลโลเนีย (Wallonia) และบรัสเซลส์ (Brussels) แต่ละแคว้นมีรัฐบาลท้องถิ่นปกครองตนเอง และมีรัฐบาลกลางบริหารประเทศโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
โดยแฟลนเดอส์และวัลโลเนียแบ่งออกเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นสามชุมชนด้วย คือ
ประเทศเบลเยียมเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2488
ชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม ซึ่งพูดภาษาฝรั่งเศส
ชุมชนเฟลมิช ซึ่งพูดภาษาเฟลมิช
ชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียม ซึ่งพูดภาษาเยอรมัน เศรษฐกิจ
ประชากร ประมาณ 10.27 ล้านคน เป็นชาวเฟลมมิช 58% ชาววัลลูน 31% และชาวเยอรมนีและอื่น ๆ 11%
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น